ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน คณะพยาบาลศาสตร์ :: KKU ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน คณะพยาบาลศาสตร์ :: KKU

 

ยินดีต้อนรับสู่ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน คณะพยาบาลศาสตร์
ภาษา :
   Home


   หน้าแรก
   เกี่ยวกับศูนย์
   คณะกรรมการศูนย์ฯ
   สมาชิกของศูนย์ฯ
   การบริการของศูนย์ฯ
   บริการวิชาการ
   ระเบียบ/ประกาศ
   ติดต่อเรา


   DOWNLOAD


   โลโก้ศูนย์ฯ
   แบบฟอร์มขอทุนสนับสนุน
   ประกาศ
   แบบฟอร์มอื่นๆ
  

   Link หน่วยงาน








ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน คณะพยาบาลศาสตร์ :: KKU
   เกี่ยวกับวิทยาลัย

 ความเป็นมา

             มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย ที่ยึดการวิจัย เป็นภารกิจหลักที่สำคัญภารกิจหนึ่ง  เพื่อสร้างสรรค์บุกเบิกแสวงหาความรู้ในแต่ละสาขาวิจัย เพื่อนำผลของการวิจัยมาใช้ในการพัฒนา การเรียนการสอน ที่มุ่งพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีของทางคณาจารย์และนักศึกษา รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนพัฒนาการให้บริการแก่สังคม รวมทั้งพัฒนาช่วยเหลือและส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้มีวัฒนธรรมที่ดี และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านการวิจัยร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุขของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งระดับประเทศและมวลประชานานาชาติ

             คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เปิดสอนเป็นเวลานานถึง 35 ปี ได้รับนโยบายของมหาวิทยาลัยมาปฏิบัติมาโดยตลอดโดยเฉพาะ อย่างยิ่งด้านการวิจัย คณาจารย์ในคณะฯ ได้ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะฯ และพัฒนาการดำเนินการวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง ในกลุ่มผู้รับบริการตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก วัยแรงงานและสูงอายุ โดยมีเป้าประสงค์เพื่อดูแลสุขภาพของกลุ่มบุคคลเหล่านี้ ไม่ให้เจ็บป่วยและมีสุขภาพที่แข็งแรง

             วัยแรงงาน เป็นวัยที่เป็นกระดูกสันหลังของประเทศในการทำงานและเพิ่มผลผลิตและนำรายได้มาสู่ประเทศชาติ ประเทศไทยมีประชากรวัยแรงงานมากกว่าวัยอื่นๆ จากสถิติของกระทรวงสาธารณะสุข พบว่า ประชากรวัยทำงานอายุตั้งแต่ 15-59 ปี มีมากถึง 43,990,000 คน คิดเป็นร้อยละ 67 ของประชากรทุกกลุ่มอายุ และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าในปี 2553 จะมีประชากรวัยแรงงานมากถึง 45,559,000 คน คิดเป็นร้อยละ 67.31 (ทำเนียบโรงพยาบาลและสถิติสาธารณสุข 2543-2544, 2543) หากประชากรวัยนี้มีปัญหาสุขภาพ เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสถิติสุขภาพ และเศรษฐกิจของชาติโดยรวม

 

             คนวัยแรงงาน เป็นวัยที่มีปัญหาสุขภาพในหลายด้าน เช่น ปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และการใช้สารเสพติดอื่นๆ ตลอดจนวัยทำงานจะประสบปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากการทำงานอยู่เสมอ จากสถิติของสำนักงานประกันสังคม พ.ศ. 2546 พบว่า  คนวัยแรงงานประสบอันตรายจากการทำงาน เช่น วัตถุหรือสิ่งของ ตัด บาด  หรือทิ่มแทงอวัยวะต่างๆของร่างกาย  52,249 คน  และจากการตรวจเลือดเพื่อค้นหาระดับโคลีนเอสเตอเรสของเกษตรกรทั่วประเทศ ในปี 2544 จำนวน 89,945 คน พบว่า เกษตรกรจำนวน 21,758 คน คิดเป็นร้อยละ 24  มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยในการได้รับสารพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และ คาร์บาเมท  (สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, 2547)  และสถิติผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางการจราจรพบในคนวัยทำงานมากที่สุด   นอกจากนี้คนวัยทำงานที่มีอายุเริ่มมีปัญหาสุขภาพ   เนื่องจากการเสื่อมถอยของร่างกาย   หากไม่ได้รับการสร้างเสริมสุขภาพ  หรือดูแลตนเองที่ดีอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง เช่น  โรคความดันโลหิตสูง  และโรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งปัญหาสุขภาพเหล่านี้สามารถป้องกันได้ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนวัยทำงาน โดยการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและให้การดูแลสุขภาพคนกลุ่มนี้อย่างดีและทั่วถึง ไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง การเจ็บป่วยจากการทำงาน และการบาดเจ็บจากอุบติเหตุต่างๆ

             ดังนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่จะจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน ซึ่งคณะนักวิจัยคาดหวังว่าการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว นอกจากการส่งเสริมสุขภาพคนวัยทำงานให้แข็งแรง ยังสร้างคน สร้างระบบและเครือข่ายในการดูแลคนวัยทำงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข เป็นขุมพลังสำคัญของประเทศชาติต่อไป                 

 

 วิสัยทัศน์

สร้างองค์ความรู้สู่ความผาสุกของคนวัยแรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

 

 พันธกิจ

ฝึก อบรม และให้บริการวิชาการแบบบูรณาการ สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสหสถาบัน เพื่อคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงานในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และลุ่มน้ำโขงที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม สภาวะเศรษฐกิจและสังคม และนโยบายสุขภาพ

 

วัตถุประสงค์

  1. สร้างองค์ความรู้และพัฒนานักวิจัยด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน
  2. วิจัย ฝึกอบรมบริการวิชาการ รวบรวมและเผยแพร่ความรู้เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน
  3. สร้างเครือข่ายการวิจัย อบรม และบริการวิชาการแบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน สหวิชาชีพด้านการวิจัยด้านการวิจัย

 

ยุทธศาสตร์

  1. พัฒนานักวิจัยให้เชี่ยวชาญในการดำเนินการวิจัยด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน
  2. สร้างความรู้ รวบรวมและเผยแพร่ความรู้ด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน
  3. พัฒนาเครือข่ายการวิจัย ฝึกอบรม และบริการวิชาการ เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภูมิภาคลุ่มน้ำโขง



รศ.ดร.อัมพรพรรณ ธีรานุตร
รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์ฯ
   รูปภาพกิจกรรม

   สถิติผู้เข้าชม

  วันนี้
1
คน
  เมื่อวาน
1
คน
  เดือนนี้
25
คน
  เดือนที่แล้ว
31
คน
  ปีนี้
116
คน
  ปีก่อน
365
คน

   QR Code ศูนย์วิจัยฯ


ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 ถ.มิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โทรศัพท์ 0-4320-2407 ต่อ 158 หมายเลขภายใน 1400-9
Copyright ©2024 : Faculty of Nursing Khon Kaen University , All Right Reserved